หน้าแรก  :  เกี่ยวกับเรา  :  สมัครสมาชิก  :  ติดต่อเรา  :  บริจาค และ สั่งซื้อหนังสือเรื่อง"For You....คุณแม่คนเก่ง
บทความที่ควรอ่าน: กิจกรรมของสมาชิก
งานเสวนาผู้ปกครอง เรื่องปัญหาพฤติกรรมของเด็กสมาธิสั้น
Views: 6281

เสวนาผู้ปกครอง
เรื่องปัญหาพฤติกรรมของเด็กสมาธิสั้น�
ณ ชมรมผู้ปกครองบุคคลสมาธิสั้น แห่งประเทศไทย


������� ดร.กรรณิการ์ คำดี เป็นอาจารย์ทางด้านจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับเชิญให้มาคุยให้ผู้ปกครองฟังถึงวิธีผ่อนคลายความเครียดอย่างง่ายๆ และยังได้รับเชิญให้เป็นกรรมการของชมรมผู้ปกครองคนสมาธิสั้นอีกด้วย

������� ดร.กรรณิการ์ - ก่อนอื่นขอแนะนำท่านผู้ปกครองก่อน มี คุณจำเนียร
คุณปุ๊ก คุณนุช คุณปาริชาติ คุณอภิชาติ คุณชมนาด คุณพัชราภรณ์ คุณรุ้งวิภา คุณสุวัฒน์ คุณธำรง คุณนิพนธ์ คุณนภัทร และ คุณตุ้ม

������� ความเครียดเกิดขึ้นได้กับทุกคน คนธรรมดาก็เครียด ไม่ธรรมดาก็เครียด อันดับหนึ่งของความเครียดคืออะไร ใครบอกได้บ้าง มีหลายเรื่อง เช่น เรื่องครอบครัว 20% ของคู่สมรสแต่งแล้วหย่า อีก 50% อยู่ด้วยความแค้น เป็นเรื่องเครียดมาก

อันดับ 1. เกิดจากบุคลิกภาพของเราเอง บางคนสุขง่ายทุกข์ยาก มีตัวอย่างเด็กคนหนึ่งไม่มีเงิน อยากเรียนหนังสือ ทางครูและพระลงขันช่วยเหลือ เขามีผ้าขะม้าเก่าๆอยู่ 1 ผืน ซึ่งสามารถทั้งใช้และทั้งเป็นผ้าปูนอน อยู่ได้มีความสุข ทานข้าวที่พ่อแม่ส่งมาให้ ทานน้ำพริกที่ตำมาให้ ใช้เงินวันละ 80 บาท ประคองอยู่ได้จนจบการศึกษา ถามว่าเขาเครียดหรือไม่ เขาไม่เครียดสามารถมีความสุขอยู่ได้ตามอัตภาพ ความเครียดและความทุกข์ไม่ได้อยู่ที่เศรษฐกิจ แต่อยู่ที่บุคลิกภาพหรือภูมิต้านทานของเราเอง ว่าทำอย่างไรจึงจะมีความสุขอย่างง่ายๆ

อันดับ 2. ครอบครัวมีส่วนทำให้เกิดความเครียด คนในครอบครัวไม่สามัคคีกัน พูดกันไม่รู้เรื่อง มีการทะเลาะกัน หรือหย่าร้าง

อันดับ 3. เศรษฐกิจตกต่ำ เงินมีไม่พอใช้ ตกงาน

อันดับ 4. ลูก เช่นลูกไม่ยอมไปโรงเรียนเพราะต้องการของเล่นเหมือนเพื่อน ต้องการไปเมืองนอกเวลาหยุดเทอม ลูกมีปัญหาต่างๆทำให้พ่อแม่เครียด

������� อย่างไรก็ตาม เป็นสิ่งที่ดีเหมือนกันที่มีความเครียด เพราะถ้าไม่เจอกับความทุกข์ เราก็จะไม่รู้ว่าความสุขคืออะไร แต่เครียดมากไม่ดี ความเครียดมีหลายระดับ ไม่เครียดเลยก็ไม่เอาเรื่องเอาราว สมควรไปบวช

วิธีลดความเครียดมีดังต่อไปนี้

  1. ระบบการหายใจ หายใจลึกๆเข้าไปให้ถึงสะดือ ท้องป่องให้ลมเข้ามากๆ คนที่หายใจไม่เต็มปอด ทำให้ออกซิเจนเข้าไปไม่ทั่วถึง หายใจออกให้ท้องแฟบ เอานิ้วหัวแม่มืออุดจมูกไว้หนึ่งรู สูดลมหายใจเข้าลึกๆ ท้องป่อง แล้วค่อยๆปล่อยออก ทำหลายๆครั้ง กักลมไว้นานๆ ค่อยๆปล่อยลมออกช้าๆ ถ้าฝึกเป็นประจำได้ยิ่งดี ยิ่งทำบ่อยเท่าไร ความต้านทานความเครียดจะมีมากขึ้น

  2. ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อที่เกร็งด้วยความเครียด ต้องผ่อนคลายให้ได้ หาสถานที่ที่เราชอบหรือสบายๆ นอนลงหลับตาและจินตนาการในสิ่งที่เราชอบ ชาวอินเดียหรือโยคีสามารถจินตนาการได้เก่ง เช่นไม่รู้สึกร้อนหนาวได้ ไม่รู้สึกเจ็บปวดได้ เช่นเดินบนตะปู เป็นต้น

    ชาวพุทธเชื่อในเรื่องตายแล้วเกิดใหม่กันมาก การจินตนาการอาจนึกถึงการเกิดใหม่ในภพที่ดีกว่าในชาติต่อไป อยู่ที่ใจของเรา บางคนร้อนมาก แต่สามารถทำให้เย็นได้ การเกร็งอาจหาวิธีคลายได้ ด้วยการนอนลงหรือนั่งในท่าสบาย แล้วทำดังนี้

    - กำมือให้แน่น นับ 1-2-3- แล้วคลายออก ฝึกหลายๆครั้ง

    - เกร็งเท้าขวาให้แน่น นับ 1-2-3- แล้วคลายออก ทำเช่นเดียวกับเท้าซ้าย�

    -
    �เอียงคอซบไหล่ซ้าย นับ 1-2-3- เกร็งแล้วคลายออก ทำเช่นเดียวกับ
    �� ไหล่ขวา

    - ก้มหน้าลงเกร็ง นับ 1-2-3- เกร็งแล้วคลายออก

    - เม้มริมฝีปากให้แน่น นับ 1-2-3- เกร็งแล้วคลายออก

    - ทำหน้าให้ตลกที่สุด ค่อยๆลืมตาขึ้น จะรู้สึกสบาย

������� ทฤษฏีของนักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง สอนให้คนเป็นตัวของตัวเอง เป็นอิสสระ ถ้าคิดว่าทำถูกต้องไม่ทำให้คนอื่นยุ่งยากก็ทำไป คนที่เครียดจะมีอะไรที่ค้างคาใจ ซึ่งจะบั่นทอนพลังของตนเองให้ลดลง

������� นักจิตวิทยาผู้นี้ได้สอนวิธียืน โดยให้แยกเท้าระดับไหล่ ยืดอก เชิดหน้าขึ้น มือท้าวสะเอว หายใจลึกๆ

������� ยืนอยู่สักพัก ต่อจากนั้นให้ตีปีกยกสูงๆเพื่อให้อากาศเข้าปอดเต็มที่ ทำให้เหนื่อย ย่อเข่าลง แล้วตีปีก ยิ่งแรงเท่าไรยิ่งหายเครียด เปล่งเสียงให้ลมออกจากปาก ซึ่งจะทำให้สบายขึ้น แล้วล้มตัวลงนอน ให้เอาข้างซ้ายลง ข้างขวาขึ้น เพราะคนจะใช้สมองสองซีกไม่เท่ากัน

������� การทานอาหาร อาหารร้อน ซึ่งได้แก่ อัลกอฮอลล์ กระเทียม เนื้อสัตว์ทำให้เครียดได้ ฟันของมนุษย์มีไว้เคี้ยวผัก ผลไม้ ซึ่งถือเป็นอาหารเย็น ทำให้หายเครียด หรือทำให้เครียดน้อยลง

������� ชีวิตเรามีขึ้นมีลง มีทั้งทุกข์และสุข เปลี่ยนไปได้ตลอดเวลา...จบการบรรยายของดร.กรรณ

�*************

ประธานชมรมฯ�-�ผู้ปกครองทุกคนควรพูดถึงปัญหาของลูก ใครมีวิธีการอย่างไรก็เล่าสู่กันฟัง

ผู้ปกครอง�-�เรามาคุยเรื่องปัญหาของกันและกัน แต่ละคนมีวิธีแก้ไขต่างกัน ซึ่งบางครั้งจะใช้ระยะเวลาหนึ่งก็อาจต้องเปลี่ยนรูปแบบไปเรื่อยๆ ลูกชายผมของหายประจำ ยางลบดินสอหายทุกวัน วันละก้อน ผมแก้ตั้งแต่เขียนชื่อติดไว้ จนกระทั่งเอาเชือกผูกห้อยคอกับกระเป๋า ทำหลายวิธี บางทีก็แบ่งออกเป็นหลายๆชิ้น ต่อมาอยู่ป.4 อายุมากขึ้นก็มีสมุดจดเรื่องของหาย ที่หายประจำคือยางลบ ดินสอ ไม้บรรทัด จนกระทั่งกระเป๋าหาย เคยให้เงินกินขนม เช้าให้แล้ว เย็นจะให้อีกก็ต่อเมื่อของที่เอาไปไม่หายกลับมาครบ แรกๆได้ผลหลายอาทิตย์ ของหายจะห่างไป เมื่อเร็วๆนี้ลูกขอเรียนแค่ป.6 ถามว่าทำไม ตอบว่าไม่อยากเรียนต่อมัธยมเพราะโตแล้ว งงว่าทำไมมีความคิดอย่างนี้ นึกย้อนดูว่า เมื่อวันอาทิตย์ไปบ้านญาติ ซึ่งไม่ไกลบ้านเท่าไร เดินกลับบ้านได้ เขาขอเดินกลับบ้านเองก็ไม่อนุญาติ เขาคิดว่าเขาคงไม่โตพอ เขาจึงอยากเป็นผู้ใหญ่เพื่อจะทำอะไรเองได้ ได้ถามเขาเรื่องการเรียนว่าไม่อยากเรียนสูงๆหรือ เขาก็ย้ำว่าเขาอยากเรียนแค่นี้ ทำให้ผมคิดว่าหากเป็นเช่นนี้ก็ต้องทำใจที่จะต้องศึกษานอกโรงเรียน�

ประธานชมรมฯ -�เด็กสมาธิสั้นมักเจอปัญหาเหล่านี้ ในฐานะลูกเป็นเด็กโตก็มีปัญหาเหล่านี้ แต่ขณะนี้มีน้อยหน่อย

ผู้ปกครอง -�ให้เอาของไปฝากไว้กับครูช่วยได้บ้างยืดเวลาหายออกไป

ผู้ปกครอง - ลูกอายุ 7 ขวบ มีพฤติกรรมก้าวร้าว เช่นพูดจาเถียงรุนแรงมีคำหยาบบ้างเวลาถูกขัดใจ

ผู้ปกครอง -�ได้มีการตักเตือนวางกำหนดเวลาไว้หรือไม่ บางครั้งการกำหนดเวลาได้ผลเหมือนกัน

ผู้ปกครอง -�ได้สอนในเรื่องความดีซ้ำๆ เคยพาไปวัดไผ่โรงวัว ที่สุพรรณบุรี มีนรกสวรรค์เปรต ชี้ให้เขาดูถึงบาปบุญคุณโทษ เขาดูแล้วกลัว กลับมาบ้านก็จะพูดถึงเรื่องนี้ให้เขาสำนึกถึงบาปตกนรก เขาก็หยุดไม่กล้าทำ วิธีนี้ได้ผล ทุกวันนี้เขาหยุดไม่กล้าพูดคำหยาบ เวลาเช้าขับรถไปโรงเรียนก็จะสอนศัพท์ภาษาอังกฤษ ทำให้ภาษาอังกฤษเขาดีที่สุดในห้อง บางครั้งก็สอนเหตุผลต่างๆให้รู้ว่าโตขึ้นจะต้องทำอย่างไร พูดซ้ำซากจำเจทุกวัน รู้สึกเหนื่อยมาก ต้องพูดมาก เป็นเทคนิคของผม

ประธานชมรมฯ -�ปัญหาเด็กเอะอะโวยวาย โกรธง่ายเอาแต่ใจตัวเอง เห็นแก่ตัว ชุ่ย เป็นธรรมชาติของเด็กสมาธิสั้น โตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ก็จะนิสัยไม่ดี ไม่น่าคบ ต้องหาทางแก้แต่เยาว์วัยจึงจะดีขึ้น

ผู้ปกครอง -� ลูกเป็นเด็กมีปัญหาเรื่องโรคประจำตัวเบาหวาน พูดช้า เรียนระบบปรกติ เรียนได้ถึงม.3ก็เรียนไม่ได้ พักไว้ระยะหนึ่ง มีพฤติกรรมแปลกๆอยู่ในโลกคนเดียว แต่งเรื่องเอง ติดแหวนติดพระ ต้องพาไปวัดบ่อยๆจนติด ไปอยู่มูลนิธิแสงสว่าง สื่อไม่รู้เรื่องเพราะมีเด็กอาการมากหลายคน จึงต้องเอาออก มาหาที่เรียนเจอบ้านมาตา ต้องทานยาของหมอสมอง ชอบเล่นสบู่เป็นก้อนๆ อาบน้ำช้า ปัจจุบันยังต้องช่วยอาบน้ำเพราะไม่สะอาด พูดฟังเหตุผลแต่ลืมเร็ว ก่อนนี้ก้าวร้าวมากเคยต่อยแม่เกือบสลบ ตอนหลังทานยาเปลี่ยนไปในทางที่ดี ตอนแรกที่เกิดก้าวร้าว แม่ดูฟุตบอลอยู่ ลูเกิดหงุดหงิดขึ้นมาทันที ดึงผมแม่มาต่อย ซึ่งไม่รุ้สาเหตุ พ่อเอาไม้ตีจึงวิ่งหนีออกจากบ้าน ตั้งแต่นั้นไม่กล้าทำและเข้ามาขอโทษ ปัจจุบันไม่เป็นแล้วตั้งแต่ทานยา

ประธานชมรมฯ -�นี่เป็นเรื่องของเด็กโตมีปัญหา Autistic ไม่รุนแรง มีปัญหาสมาธิสั้นและสติปัญญาเล็กน้อย ยาที่ทานช่วยได้ส่วนหนึ่ง แต่ความรักเป็นยาวิเศษ ปล่อยให้เขาเป็นตัวของตัวเองบ้าง ปัญหาอยู่ที่ว่า การควบคุมด้วยยาแค่ไหนจึงจะพอดี ซึ่งยากมาก

ผู้ปกครอง -� ลูกก้าวร้าวบ้าง เช่นบอกว่ากล้าต่อยครู แต่คิดอยู่ในใจ แม่ก็บอกไปว่าเป็นวิธีที่ไม่ดี

ประธานชมรมฯ -�เท่าที่พูดคุยกับผู้ปกครองประมาณ 700 คน และจากประสบการณ์ จะมีอาการเป็นขั้นตอนเหมือนโรคอย่างหนึ่ง เช่นเมื่อเล็กๆ จะดื้อมาก เถียงมาก ของหายมาก แต่ก็ยังเป็นเด็กฉลาด ของง่ายๆกลับไม่ทำ ไม่รับผิดชอบ เมื่อสอนเขาตั้งแต่เด็กจะประจัญบานกับแม่เป็นส่วนใหญ่ ถ้ายังไม่รู้จักวิธีขจัดในขั้นนี้ เขาจะเริ่มเอะอะโวยวาย เริ่มโกหก หากพ่อแม่ไม่ขจัดที่ต้นเหตุของการโกหก เด็กก็จะพกความแค้นตั้งแต่เล็ก ก็จะระเบิดเมื่อเริ่มโต จึงอยากให้ผู้ปกครองปรับใจและแก้ไขตนเองตั้งแต่ต้น เด็กสมาธิสั้นโดดๆจะแก้ไขยากมาก เราต้องไม่โกรธ ต้องดับไฟแต่ต้นลม

ผู้ปกครอง - เวลาลูกเกิดก้าวร้าว จะพูดกับลูกอย่างใจเย็น พูดนิ่มๆ เขาก็จะเงียบลงและเข้ามากอด ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยได้มาก

ผู้ปกครอง - การพูดจานิ่มๆกับลูก ได้เคยนำไปใช้กับลูก อารมณ์เย็นลง ไม่โมโหตอบได้ผล แต่มีปัญหาที่ตัวเราหรือผู้ปกครองต้องมาหากลุ่มเพื่อเติมพลัง กลับไปอยู่คนเดียวก็เหมือนเดิมอีก การเข้าชมรมเป็นการช่วยเติมพลัง หากหายไปไม่ติดต่อกับชมรมก็จะเป็นอีก

ผู้ปกครอง -
�หากเราแรงกับลูก ลูกก็จะแรงขึ้น หากเราเย็นลงลูกก็จะเย็นลงเช่นกัน พฤติกรรมเลียนแบบ ถ้าเราเป็นตัวอย่างในสิ่งที่ต้องการ เราต้องเริ่มก่อน

ผู้ปกครอง - �ลูกอายุ 5 ขวบ งอแง เมื่อรู้ว่าเป็นก็ปรับใจให้เย็นลง ทำตามคุณหมอบอก ให้เรียนดนตรี เขาชอบเล่นกีตาร์มาก บกพร่องเรื่องการเขียน ปัจจุบันแม่ใจเย็นลง เขาก็ดีขึ้น เคยทำโทษให้นั่งเก้าอี้โดยใช้ระยะเวลาในการลงโทษและค่อยๆลดลง จนเขาเลิกได้ ให้ทานอาหารเสริมและวิตามิน ปัจจุบันบ้านสงบไม่มีเสียงร้อง อาละวาด

ประธานชมรมฯ - �เด็กจะซึมซับความรัก มีเด็กคนหนึ่งมาเข้าค่ายของชมรมตอนปิดเทอมใหญ่ประมาณ 1 เดือน คิดว่าตนเองเป็นเด็กไม่ดีซึ่งเป็นอาการที่พัฒนาขึ้น ครูจับพฤติกรรมนี้ได้ก็พยายามแก้ไข การให้ยาทำให้เด็กนิ่งประมาณ 4 ชม. ซึ่งช่วยพ่อแม่ เพราะเมื่อลูกนิ่งพ่อแม่ก็นิ่งด้วย ทำให้เหตุการณ์ดีขึ้น

โรคสมาธิสั้นนี้ไม่หาย ในอนาคตก็ไม่แน่หวังการพบทางการแพทย์ให้พฤติกรรมก้าวร้าวดีขึ้น สร้างความรับผิดชอบได้ตามสมควรถ้าเรายอมรับลูกก็จะช่วยได้มาก ประคับประคองอย่าผลักดัน ถ้ามันซับซ้อนขึ้นก็ต้องนำเขาไปในด้านดี อย่าไปน้อยเนื้อต่ำใจ อยากให้ผู้ปกครองเรียนรู้เกี่ยวกับจิตใต้สำนึก เพราะจิตใต้สำนึกจะถูกดึงมาใช้ตลอดเวลา ซึ่งมีถึง90% เราต้องปลูกจิตสำนึกเข้าไปในตัวเด็ก เด็กจึงจะนำมาใช้ได้

ผู้ปกครอง - �ลูกอายุ 17 ปี มีปัญหาภูมิแพ้ ลมชัก มีอาการป่วยตี 2- ตี 3 เป็นมาตั้งแต่เล็ก จะมีไข้สูงตลอดจนอายุ 11 ปี เมื่อจบอนุบาลพาไปเข้าโรงเรียนแสงสว่าง ลูกไม่มีความสุข พามาเข้าโรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ เขาเป็นเด็กค่อนข้างเงียบเรียบร้อยเมื่ออยู่โรงเรียน จนเมื่ออาย 13 ปี เริ่มก้าวร้าว เอาน้ำสาดเพื่อน เวลาโกรธ เริ่มร้องไห้และไม่ไปโรงเรียน พยายามหาโรงเรียนใหม่ก็ไม่ยอมไป เริ่มอาละวาดโวยวาย พาดูโรงเรียนทุกแห่ง เอาครูมาสอนที่บ้านก็ทำมาแล้ว อาการหนักขึ้น ก้าวร้าวมากขึ้นไปพบจิตแพทย์ทานยา น้ำหนักขึ้นมาก จะหิวเก่งและดกระอาละวาดเมื่อไม่ได้ทาน จำเป็นต้องเปลี่ยนยา เพราะมีปัญหาทางอารมณ์มาก รุนแรงต้องจับกันทำลายข้าวของ จึงเริ่มไปหาหมอใหม่ หมอบอกว่าเป็น เอสเพอเจอร์ ซึ่งปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆไม่ได้เลย ความขัดแย้งของเขาเกี่ยวกับการเกลียดโรงเรียน ทำให้เขาเหงาไม่มีเพื่อนไม่มีสังคมของเขา ได้รับการปรับยาทำให้อารมณ์ดีขึ้น และได้มาพบบ้านมาตา ซึ่งต้องใช้เวลา 1 ช.ม. จึงจะยอมลงจากรถ

ประธานชมรมฯ -�ท่านนี้เป็นคุณแม่ที่น่าสรรเสริญมาก มีความอดทนต่อพฤติกรรมของลูกมาก วันแรกใช้เวลานานมากในการเข้ามาในบ้าน มาอยู่บ้านมาตาได้ 6 เดือนแล้ว เฉยๆไม่พูดกับใคร ต้องค่อยๆโผล่หน้าเข้าไปจึงยอมพูดและเกิดความคุ้นเคย

ผู้ปกครอง - ต้องใช้เวลา ถึง 6 เดือนเทียวไปเทียวมากับบ้านมาตา

ประธานชมรมฯ - �อาการของเด็ก เป็นปัญหาทางอารมณ์ เป็นผลลบจากยา เมื่อเป็นเด็กโตจะยากมาก ดีที่คุณพ่อคุณแม่เข้าใจ



บทความที่ควรอ่าน: กิจกรรมของสมาชิก
»ลงชุมชนทรัพย์สินเก่า "บ้านครูเครือ"
26-09-2018
»ลงชุมชนทรัพย์สินเก่า "บ้านครูส้ม"
26-09-2018
»ทอดผ้าป่า 29 ก.ค. 2561
09-08-2018
»ทอดผ้าป่า 29 ก
09-08-2018
»กิจกรรม "การเลี้ยงดูลูกให้ประสบความสำเร็จและเชื่อฟัง"
09-02-2018
»กิจกรรม "ทำจุดอ่อนของลูกให้เป็นจุดแข็ง"
28-01-2018
»งานทอดผ้าป่าที่วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก 12 พ.ย. 2560
13-11-2017
»กิจกรรมในชุมชนโรงปูน
01-09-2017
»กิจกรรมเข้าชุมชน บึงระราม ๙ บ่อ 3 เมื่อ 5 ก.พ. 2560
14-02-2017
»กิจกรรม ปั้นดินเกาหลี ณ สำนักงานชมรมฯ เมื่อ 29 ม.ค. 60
14-02-2017
»งานทอดผ้าป่ามหากุศล ณ โบสถ์วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
21-12-2016
»กิจกรรม "ฝึกการคิดรวบยอด" เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2559
08-09-2016
»การลงชุมชนรุ่งมณีพัฒนาเพื่อแนะนำ "วิธีเลี้ยงดูลูกซุกซนอยู่ไม่สุข"
10-04-2016
»งานทอดผ้าป่ามหากุศลที่วัดพระรามเก้ากาญจนาภิเษก เมื่อ 20 ก.พ. 2559
29-03-2016
»"แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่าง พ่อ-แม่"
11-12-2015
»19 เม.ย. 2558 "ไปเที่ยวเสิ่นเจิ้นในไทย"
11-12-2015
»ช่วยเหลือ "เด็กซุกซนอยู่ไม่สุข หรือเด็กสมาธิสั้น"
03-07-2015
»งานทอดผ้าป่าที่วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก เมื่อ 21 มีนาคม พ.ศ. 2558
03-04-2015
»แลกเปลี่ยนประสบการณ์คุณแม่เด็กอายุไม่เกิน 11 ปี
14-01-2015
»กิจกรรม "เดคูพาท"
01-12-2014
»งานทำบุญฉลองสำนักงานใหม่
01-12-2014
»กิจกรรมคลายทุกข์คุณแม่และคุณลูกด้วยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์
01-12-2014
»กิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างพ่อแม่เด็กโต
01-12-2014
»งานทอดผ้าป่าที่วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
11-03-2014
»กิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์
30-01-2014
»กิจกรรมเรื่องวิธีพูดให้ลูกเป็นสุขและภูมิใจ
07-08-2013
»กิจกรรมแสดงและเรียนมายากล
29-06-2013
»กิจกรรมเพิ่มศักยภาพเด็กสมาธิสั้นด้วยการปลูกฝังจิตใต้สำนึก
29-06-2013
»กิจกรรมล้างจิตใต้สำนึกเพิ่มสุข
29-06-2013
»กิจกรรมเรื่องเพิ่มศักยภาพเด็กสมาธิสั้นด้วยการปลูกฝังจิตใต้สำนึก
07-08-2013
»กิจกรรมเรื่องล้างจิตใต้สำนึก เพิ่มสุข
07-08-2013
»งานสังสรรค์ปีใหม่ 20 มค 2556
28-03-2013
»งานทอดผ้าป่าเพื่อช่วยเด็กสมาธิสั้นยากจน 21 ต.ค. 2555 ที่วัดพระราม ๙
18-11-2012
»กิจกรรมเที่ยวสนุกไปบุกฉะเชิงเทรา
07-08-2013
»งานทอดผ้าป่ามหากุศล
01-05-2012
»กิจกรรมสังสรรค์ปีใหม่ 8 ม.ค. 2555
01-05-2012
»เสวนาเรื่องเด็กสมาธิสั้นก็เก่งได้ ที่ วัดพระราม๙
01-05-2012
»เที่ยวเมืองประวัติศาสตร์กาญจนบุรี (ตอนที่ 2)
01-05-2012
»เที่ยวเมืองประวัติศาสตร์กาญจนบุรี (ตอนที่ 1)
01-05-2012
»กิจกรรม SI
01-05-2012
»กิจกรรมคลายทุกข์คุณแม่
01-05-2012
»กิจกรรมของสมาชิก
11-01-2017
»ทอดผ้าป่า วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
01-05-2012
»ทอดผ้าป่า สร้างวิหาร วัดใหม่บ้านโนนสำราญ อ.ท่ากันโท จ.กาฬสินธุ์
01-05-2012
»การบรรยายเรื่อง "การดูแลเด็กสมาธิสั้นแนวใหม่"
01-05-2012
»นั่งรถไฟไปหัวหิน
01-05-2012
»การบรรยาย เลี้ยงเด็กสมาธิสั้นสไตล์เจ้าอาวาส ที่วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก
02-05-2012
»ชมโครงการหุบกะพง และ สหกรณ์เกษตรกรรมวังน้ำเขียว
01-05-2012
»คำสัมภาษณ์ เรื่อง “เด็กสมาธิสั้น”
01-05-2012
»การเสวนา "เพิ่มศักยภาพ ลูกสมาธิสั้น...ไม่ใช้ยาได้หรือไม่"
01-05-2012
»งานเสวนาผู้ปกครอง เรื่องปัญหาพฤติกรรมของเด็กสมาธิสั้น
02-05-2012
 
หน้าแรก  เกี่ยวกับเรา  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา  บริจาค และ สั่งซื้อหนังสือเรื่อง"For You....คุณแม่คนเก่ง
Copyright©2024 adhdthai.com
Powered by SMEweb