หน้าแรก  :  เกี่ยวกับเรา  :  สมัครสมาชิก  :  ติดต่อเรา  :  บริจาค และ สั่งซื้อหนังสือเรื่อง"For You....คุณแม่คนเก่ง
บทความที่ควรอ่าน: สมาธิสั้นแทรกซ้อนในอาการอื่น
สมาธิสั้นแทรกซ้อนในอาการอื่น
Views: 20195

 

สมาธิสั้นแทรกซ้อน

สมาธิสั้นแทรกซ้อนในอาการอื่นมีดังต่อไปนี้

    1. อาการปัญญาอ่อน (Mental Retardation)

    2. อาการออทิสติก (Autism)

    3. อาการบกพร่องในการเรียนรู้
      (Learning Disablilities Disorder
      หรือ แอลดี)

    4. อาการกระตุกหรือเคลื่อนไหวผิดปกติของกล้ามเนื้อที่เรียกว่า Tics และ Tourette

              5.  อาการทางจิตเวช (Mental Health)
 

                          - อาการวิตกกังวล (Anxiety)

                         -  ไบโพล่า (Bipolar Disorder) หรืออารมณ์แปรปรวน       

                         -  อาการซึมเศร้า (Depression)        

                         -  อาการทางจิต (Psychosis)

                         -  อาการจิตเภท (Schyzophrenia)              

                         -  บุคลิกภาพผันแปร (Split Personalities)
                       

                         -  อาการกลัวในสิ่งไม่ควรกลัว (Phoebia)

                         -   อาการย้ำคิดย้ำทำและหมกมุ่น              -

             6. อาการผิดปกติของการปรับตัวในภาวะตึงเครียดที่เกิดขึ้นกับตนเอง

            7.  อาการลมชัก  และ  ความผิดปกติของสมอง  เช่น  บาดเจ็บที่ศีรษะหรือการติดเชื้อในสมอง

           8. ต่อมธัยรอยด์ทำงานผิดปกติ

          9. Pervasive Development Disorder Not Otherwise Specified - PDD  NOS) อาการพัฒนาการช้าระบุไม่ได้ว่าเป็นอะไร  เด็กจะมีอาการหลายแบบ  เช่น  มีอาการแอลดี  มีอาการสมาธิสั้น  มีอาการออทิสติก หรือ แม้แต่มีปัญหาสติปัญญา แต่บางคนก็อาจไม่มีปัญหาสติปัญญา การช่วยเหลือต้องช่วยทุกด้าน  เด็กประเภทนี้จะเรียนหนังสือได้  ถึงแม้ไม่ดีนักแต่ก็ประสบความสำเร็จได้ขึ้นอยู่กับความช่วยเหลิอของพ่อแม่

       10. อาการต่อต้านท้าทาย  ดื้อ  เกเร  ก้าวร้าว (Oppositional Difiant Disorder - ODD ) เด็กมักจะทำกับบุคคลบางคน  ที่ตนรู้สึกไม่ชอบและเป็นต้นเหตุของความทุกข์ของตน  ต้องพบจิตแพทย์เพื่อนำยามารับประทาน

          อาการสมาธิสั้นในอาการต่างๆ ข้างต้น  แพทย์ จะไม่วินิจฉัย ว่าเด็กหรือคนหนุ่มสาวหรือผู้ใหญ่ว่า เป็นบุคคลสมาธิสั้น  แต่จะวินิจฉัยว่า  เป็นผู้มีอาการตามข้างต้นเท่านั้น  ในการรักษา  จะต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งเพราะยาบางประเภท  จะทำให้เกิดอาการก้าวร้าวรุนแรงเพราะเกิดอาการต้านยา จนแพทย์ต้องเพิ่มยาจนเกินขนาดและไม่รู้ตัวซึ่งมีผลทำให้เกิดการเสียชีวิตได้ในบางกรณี  เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งและควรเฝ้าอย่างใกล้ชิด ในกรณีที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

         อาการสมาธิสั้น  หากการช่วยเหลือไม่ถูกต้อง  อาการจะพัฒนาเพิ่มมากขึ้นจนมีอาการตามข้างต้น (ไม่รวมอาการปัญญาอ่อน  อาการแอลดีและอาการต่อมธัยรอยด์) ซึ่งจะต้องรักษาด้วยยาเท่านั้น  ไม่มีทางเลือกอื่นและคุณจะต้องเรียนรู้วิธีสื่อสารกับลูกและต้องปรับพฤติกรรมตนเองเช่นกัน  มิฉะนั้น  ยาจะไม่มีผล  หากลูกคุณเกิดความเครียดจากบุคคลรอบตัวในครอบครัวและที่โรงเรียน

 



 
หน้าแรก  เกี่ยวกับเรา  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา  บริจาค และ สั่งซื้อหนังสือเรื่อง"For You....คุณแม่คนเก่ง
Copyright©2024 adhdthai.com
Powered by SMEweb