หน้าแรก  :  เกี่ยวกับเรา  :  สมัครสมาชิก  :  ติดต่อเรา  :  บริจาค และ สั่งซื้อหนังสือเรื่อง"For You....คุณแม่คนเก่ง
เกี่ยวกับเรา
Views: 20413

ชมรมผู้ปกครองบุคคลสมาธิสั้นแห่งประเทศไทย
The Parents 'Club of the ADHD of Thailand

ที่ตั้ง

คอนโดสวนธน  ตึก 3 D  ชั้น 6 ห้อง 597

345 ซอยรัชดา 36  ถนนรัชดาภิเษก

แขวงจันทรเกษม  เขตจตุจักร  กทม. 10900  

เว็บไซต์ www.adhdthai.com
อีเมล์ thaiadhd@yahoo.com หรือ  line ID:thaiadhd

วันก่อตั้ง

10 ตุลาคม พ.ศ. 2542

ประวัติความเป็นมา

คุณฐิติพันธิ์ พุกกะณะสุต บุตรชายของคุณนภัทร พุกกะณะสุต เป็นแรงบันดาลใจที่คอยกระตุ้นให้คุณนภัทรช่วยเหลือเด็กๆ มิให้คุณพ่อคุณแม่ตีหรือดุ คุณฐิติพันธ์ สอนให้คุณแม่รู้จักธรรมะ ใช้วิธีปฏิบัติตามหลักทาน ศีลและภาวนา ในชีวิตประจำวันให้ถูกต้องที่สุด สอนให้คุณแม่เลิกพูดคำว่า ทำไม และพูดว่า ไม่เป็นไร ช่างมันเถอะ อะไรก็ได้ อย่างไรก็ได้ จนคุณนภัทรซาบซึ้งและช่วยเหลือเด็กๆ และพ่อแม่คนอื่นๆอย่างทุ่มเท

ผู้ร่วมก่อตั้ง

สโมสรสุขภาพแห่งศูนย์แพทย์พัฒนาซึ่งเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โดย พ.ญ คุณสวรรยา เดชอุดม และท่านเจ้าอาวาสวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก พระธรรมบัณฑิต และ ท่านผู้ช่วยเจ้าอาวาส พระราชญาณกวี เป็นผู้สนับสนุนให้เกิดการก่อตั้งชมรมฯพร้อมทั้งได้ช่วยเหลือและอุปถัมภ์เท่าที่จะทำได้ตลอดมา

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อช่วยเหลือพ่อแม่ผู้ปกครองและบุตรหลานสมาธิสั้นให้มีกำลังใจ

  2. เพื่อช่วยเหลือให้พ่อแม่ผู้ปกครองเข้าใจวิธีเลี้ยงดูบุตรหลานสมาธิสั้นให้ถูกทาง ไม่ทำร้าย บุตรหลานทั้งทางกายและทางใจโดยไม่เจตนา

  3. เพื่อช่วยเหลือบุตรหลานสมาธิสั้นให้มีอาการดีขึ้น หรือ หาย และ มีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการดำรงชีวิต โดยสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข

  4. เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองและบุตรหลานสมาธิสั้นได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐเท่าที่จะทำได้ ถึงแม้ไม่ใช่ผู้พิการ

  5. เพื่อให้บุตรหลานดำรงชีวิตอยู่ในสังคมรอบตัวอย่างเท่าเทียมผู้อื่น�

คณะกรรมการผู้ร่วมก่อตั้ง

คุณนภัทร พุกกะณะสุต   ประธาน
คุณธิติมา อินทรปาณ     กรรมการและเลขานุการ
คุณสุภาภรณ์ อุชชิน       กรรมการและเหรัญญิก
คุณทิพวัน เวศกาวี        กรรมการ
คุณอมรรัตน์ ศรีสุรินทร์   กรรมการ
คุณธำรง บูรณตระกูล     กรรมการ
คุณนารีรัตน์ เสนะวัต      กรรมการ

ที่ปรึกษาและคณะทำงานปัจจุบัน

ฝ่ายสงฆ์ให้การสนับสนุน
พระธรรมบัณฑิต ท่านเจ้าอาวาสวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
พระราชญาณกวี  ท่านผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก

ที่ปรึกษาฝ่ายฆราวาส
พ.ญ คุณสวรรยา เดชอุดม    ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์
.นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล    จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น(นักเรียนทุนอานันทมหิดลและอเมริกันบอร์ด)
ผศ.นพ. ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร   จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
คุณปทมวรรณ เพิ่มพูล             นักจิตวิทยา

คณะทำงานปัจจุบัน




คุณนภัทร พุกกะณะสุต  หัวหน้าทีม

 

 

 

คุณรัตนา สุริยวงศ์ ทีมงาน

คุณจิรวดี  ชะยะมังคะลา

คุณนันทนา  ไชยขันธ์

การดำเนินงาน

  1. ให้คำปรึกษาในฐานะพ่อแม่ที่มีประสบการณ์ตรงอย่างยาวนาน
    - ทางโทรศัพท์ อีเมล์ พบส่วนตัว
    - แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย
    - แนะนำวิธีรับประทานยา การเลี้ยงดู การแก้ปัญหา
    - ช่วยค้นหาอาการแทรกซ้อนและอาการที่พัฒนาเพิ่มขึ้น
    - ช่วยแนะนำจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นในกรณีวิกฤตจะช่วยติดต่อแพทย์

    - ช่วยแนะนำโรงเรียนที่เหมาะสม
  2. จัดกิจกรรมสำหรับผู้ปกครอง
    - จัดกิจกรรมให้ความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติของโรค
    - จัดกิจกรรมคลายเครียดผู้ปกครองและให้กำลังใจ
    - จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์
    - จัดกิจกรรมปรับพฤติกรรมผู้ปกครอง
    - จัดกิจกรรมวิธีดูแลช่วยเหลือบุตรหลานให้มีความสุขและความภาคภูมิใจ

  3. จัดกิจกรรมสำหรับบุคคลสมาธิสั้นและที่มีอาการแทรกซ้อน
     
    - กิจกรรมเสริมสร้างความภาคภูมิใจ
    - กิจกรรมปรับพฤติกรรมให้รู้จักควบคุมตนเองให้อยู่ในระเบียบวินัย ให้รู้จักการรอคอยและการรับผิดชอบ
    - กิจกรรมเสริมสร้างทักษะในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น

    4. จัดกิจกรรมในชุมชนเพื่อแนะนำ "วิธีเลี้ยงดูเด็กซุกซนอยู่ไม่สุข" ให้กับคุณพ่อคุณแม่และคุณครู

        - บรรยายเรื่องเด็กประเภทต่าง

        - วิธีช่วยเหลือเด็กซุกซนอยู่ไม่สุข

      -   ทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกับ
 

  1. ทำการประชาสัมพันธ์ให้สังคมรับรู้ถึงอาการสมาธิสั้น
    - ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อนิตยสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโทรทัศน์และวิทยุ
    - ทำแผ่นพับเพื่อวางตามสถานที่ต่าง ๆ
    -ทำจดหมายข่าว เพื่อนแม่ สำหรับสมาชิกทุกเดือน
    - จัดทำเวปไซท์เรื่องสมาธิสั้น

  2. ร่วมประชุมและสัมมนากับส่วนราชการเพื่อให้ช่วยเหลือบุคคลสมาธิสั้นที่อยู่ในระบบการศึกษาและที่หลุดจากระบบการศึกษา

   5. บรรยายให้ความรู้ด้านการเลี้ยงดูและช่วยเหลือให้พ่อแม่และครูในชุมชนได้ทราบและนำไปปฏิบัติ

   6. ร่วมสัมมนา อภิปรายและวิภาษณ์งานวิจัยระดับปริญญาตรีและโทและรับนักศึกษาฝึกงานด้านจิตวิทยาเด็กพิเศษ

การเข้ารับคำปรึกษาและร่วมกิจกรรม สมาชิกของชมรมฯ จะได้รับสิทธิพิเศษก่อนบุคคลทั่วไป เราต้องการให้สมาชิกเลี้ยงดูลูกให้ประสบความสำเร็จและเผยแพร่ความรู้และประสบการณ์ให้พ่อแม่มือใหม่ได้ปฏิบัติตามจนประสบความสำเร็จเช่นกัน

ปัญหาที่พบ
ในระดับบุคคลและครอบครัว

  1. พ่อแม่ผู้ปกครอง โดยเฉพาะพ่อแม่ผู้ปกครองที่ยากจนและครูส่วนใหญ่ ยังไม่สามารถปรับพฤติกรรมตนเอง ให้เลิกทำร้ายเด็กทางคำพูด ซึ่งมีผลเสียต่อจิตใจเด็กทำให้ดูเหมือน ขาดเมตตาธรรม โดยไม่เจตนา

  2. พ่อแม่ผู้ปกครองและครูส่วนใหญ่ยัง ไม่สามารถปรับพฤติกรรม เด็กสมาธิสั้น ให้ได้ผลตามที่ทางการแพทย์ระบุได้ เพราะยังระงับความหงุดหงิดและความโกรธไม่ได้ ทั้ง ๆ ที ไม่มีเจตนาและรักเด็ก

  3. การเลี้ยงดูที่กดดันจนเกินศักยภาพและความสามารถทางการเรียน รวมทั้งการไม่นำคำสอนของพระพุทธเจ้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน ทำให้ ขาดเมตตาธรรม และไม่มีปิยวาจาโดยไม่มีเจตนา ทำให้เกิดปัญหาแก่เด็กสมาธิสั้นเมื่อเติบโตเป็นวัยรุ่น โดยเฉพาะเด็กที่ยากไร้และขาดโอกาสในการเข้าถึงความช่วยเหลือเพราะยากจน ตามที่ทางการแพทย์ระบุดังนี้
    - ก้าวร้าว ดื้อ เกเร ต่อต้าน ท้าทาย
    - อารมณ์ซึมเศร้า
    - อารมณ์แปรปรวน
    - ปัญหาพฤติกรรม ถ้าไม่เกิดปัญหาข้างต้นก็จะหันไปเสพยาเสพติดและประพฤติผิดกฎหมายเพราะหลงผิด เช่น ตีกัน ขับรถซิ่ง ขว้างหิน ลักขโมย ทำร้ายสตรีเภท ภรรยาและ ผู้อื่นเมื่อไม่พอใจ ลักขโมย จี้ปล้น ฯลฯสามารถ สร้างความรุนแรงให้สังคมเกินครึ่งของความรุนแรงที่เกิดขึ้นตามข่าวประจำวันและมีแนวโน้มที่เปอร์เซ็นต์จะสูงขึ้น

  4. พ่อแม่ส่วนใหญ่เมื่อลูกได้รับประทานยาแล้วมักจะ ไม่ใส่ใจในการเปรับพฤติกรรมตนเองและลูก เพื่อช่วยเหลือลูกให้ถูกต้อง ยังคงเข้าใจว่ายาคือคำตอบทั้งหมด เมื่อลูกมีอาการมากขึ้นจนถึงขั้นพูดว่า"ไม่รู้เกิดมาทำไม ทำอะไรก็ผิดหมด เบื่อ....อยากตาย.." พ่อแม่ก็ขาดความรู้พอที่จะพบนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ มักพูดว่า "ไม่มีเวลา"แต่เมื่อเด็กมีอาการเลวลง มักจะติดต่อชมรมฯเพื่อขอความช่วยเหลือ

  5. พ่อแม่ที่คิดเหล้าบุหรี่อย่างหนักรวมทั้งสารเสพติด เมื่อมีลูกมักเป็นเด็กพิเศษประเภทใดประเภทหนึ่ง

  6. เด็กสมาธิสั้นที่มีฐานะยากจน ขาดความรักความอบอุ่นจากครอบครัวและขาดโอกาส เข้าไม่ถึงการช่วยเหลือในการเลี้ยงดูที่ถูกต้อง เมื่อเป็นวัยรุ่นมักทำผิดกฏหมายหรือเป็นผู้ร้ายหรือติดสารเสพติดและมักเป็นเด็กในสถานพินิจ

    เด็กสมาธิสั้นในกลุ่มอาการหุนหันพลันแล่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่พ่อแม่มีฐานะยากจน ขาดความช่วยเหลือที่ถูกต้องและขาดความรักและความอบอุ่นและขาดโอกาสเพราะความยากจน จะได้รับผลกระทบได้ง่ายและเป็นอันตรายต่อสังคม

ปัญหาระดับภาครัฐ

  1. โรงเรียนมักไม่รับเด็กเรียนร่วม หากทราบว่าเด็กมีสมาธิสั้น มักพูดว่า "อยากรับแต่ยังไม่พร้อม" สังคมโรงเรียน ขาดเมตตาธรรมและศีล 5 (ทั้งๆที่เกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องใช้งบประมาณหรือเงิน) โดยไม่เจตนา จึงเพิ่มความกดดันให้เกิดปัญหาข้างต้น

  2. ระบบการศึกษาในระดับพื้นฐานยังไม่เอื้ออำนวยให้เด็กเรียนได้ เช่น ขาดนักจิตวิทยาการศึกษา ขาดครูการศึกษาพิเศษ ขาดการคัดกรองและแบ่งระดับความมากน้อยของอาการ ไม่มีชั้นเรียนคู่ขนาน ขาดห้องเรียนสอนเสริมและการใช้แผนการศึกษาเฉพาะบุคคล ทุกอย่างยังคงเป็นปัญหา ยังไม่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ต่อเนื่องและทั่วถึง แถมยังมีปัญหาการขาดศีล 5 ในกลุ่มครู กลุ่มผู้ปกครองและกลุ่มเด็กในโรงเรียน ทั้งๆที่ไม่ต้องใช้เงินแม้แต่สตางค์แดงเดียว จึงทำให้เด็กมีความเสี่ยงที่จะไม่ประสบความสำเร็จทางด้านการเรียน การศึกษาในระดับอาชีวะและอุดมศึกษายังไม่เอื้ออำนวย ประกอบกับกฎหมายที่หน่วยราชการใช้ยังไม่ครอบคลุมถึงบุคคลสมาธิสั้น จึงทำให้เกิดความสับสน เข้าไม่ถึงความช่วยเหลือซึ่งไม่ครอบคลุมตามความต้องการที่แท้จริงของบุคคลสมาธิสั้น โดยเฉพาะเด็กที่พ่อแม่ยากจน

  3. ไม่มีสถานที่ฝึกอาชีพและดำรงชีพรองรับบุคคลสมาธิสั้นและที่มีอาการแทรกซ้อน ที่หลุดจากระบบการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่โรคพัฒนามากขึ้น ถึงขั้นมีปัญหาทางอารมณ์และทางพฤติกรรม เช่น ติดสารเสพติด ประพฤติผิดกฎหมายทุกรูปแบบ โดยเฉพาะเด็กที่พ่อแม่ยากจน พ่อแม่ผู้ปกครองต้องรับภาระ เกิดความวิตกกังวลว่าเมื่อสิ้นชีวิต ลูกจะดำรงชีวิตอย่างไร

  4. จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นที่ชำนาญการของภาครัฐไม่เพียงพอ ต้องอาศัยบริการทางการแพทย์และยาจากภาคเอกชนซึ่งมีราคาแพงมาก จึงทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองระดับกลางและล่าง ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่บุตรเป็นโรคนี้ เข้าถึงบริการได้ยากลำบาก ขาดโอกาส แม้แต่ยาดี ๆ ก็ไม่มีโอกาสได้รับประทาน จึงเลี้ยงดูแบบตามมีตามเกิด ทำให้ เกิดปัญหาต่อสังคม โดยภาครัฐไม่ตระหนักว่าเด็กเหล่านี้มีไอคิวสูง หากไม่ได้รับการช่วยเหลือที่ถูกต้อง เมื่อเป็นวัยรุ่น เด็กจะมีปัญหาทางอารมณ์และพฤติกรรม สามารถสร้างความรุนแรงให้สังคมอย่างน่าสะเทือนใจ

  5. ผู้ปกครองที่มีฐานะดีมักช่วยตนเองได้และมักประสบความสำเร็จ ส่วนระดับกลางและระดับล่าง จะมีปัญหาการเงินเพราะค่าแพทย์ ค่ายา ค่าเลี้ยงดูต้องใช้เงินมาก ปัญหาครอบครัวแตกแยกมักเกิดขึ้น เด็กเหล่านี้มีสาเหตุจากพันธุกรรมเป็นส่วนใหญ่และมักเป็นเด็กผู้ชาย

  6. ความช่วยเหลือจากส่วนราชการที่รับผิดชอบอย่างเป็นรูปธรรม ต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง ต้องใช้เวลานานมาก เพราะปัญหางบประมาณ ปัญหาบุคลากรและปัญหาการขาดความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติของโรค ปัญหาที่พบจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือและแก้ไขอย่างเร่งด่วน ต่อเนื่องและเป็นระบบ เพื่อเป็นการป้องกันผลกระทบรุนแรงที่เกิดขึ้นกับสังคม กับบุคคลสมาธิสั้นและกับครอบครัว ประกอบกับภาครัฐกำหนดให้เด็กที่มีความบกพร่องประเภทต่างๆ ได้กลายเป็น "ผู้พิการ"ไปหมดแม้แต่เด็กแอลดี (ตามพ.ร.บ พัฒนาคุณภาพชึวิตผู้พิการ ปี 2550 ของกระทรวงพํฒนาสังคมฯ)) ส่วนเด็กสมาธิสั้นไม่เข้าข่ายเพราะหายได้ แต่ถ้าต้องการความช่วยเหลือต้องจดทะเบียนเป็น"คนพิการ" ประเภทแอลดีหรือประเภทมีปัญหาพฤติกรรมซึ่งอยู่ในหัวข้อของบุคคลที่มีปัญหาทางจิต ทำให้พ่อแม่ที่จนแสนจนจะหลีกเลี่ยง

  7. ภาครัฐอยู่ได้เพราะประชาชน แต่ภาครัฐไม่ได้ช่วยให้ประชาชนทุกประเภทดำรงอยู้ได้ การข่วยเหลือหลายอย่างยังคงไม่ตรงตามความเดือดร้อนของประชาชน ผู้เป็นเจ้าของปัญหามิได้มีส่วนร่วม

พวกเราซาบซึ้งในความเมตตาของพระเดชพระคุณเจ้า พระธรรมบัณฑิต ท่านเจ้าอาวาสวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก และ พระเดชพระคุณเจ้าพระราชญาณกวี ท่านผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก อย่างหาที่สุดมิได้ที่ได้ก่อตั้ง สนับสนุนและอุปถัมภ์เท่าที่จะทำได้

พวกเราได้ทำบุญอันยิ่งใหญ่เพราะความเมตตาของพระเดชพระคุณเจ้าทั้งสององค์ และ พ.ญ คุณสวรรยา เดชอุดม


 
หน้าแรก  เกี่ยวกับเรา  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา  บริจาค และ สั่งซื้อหนังสือเรื่อง"For You....คุณแม่คนเก่ง
Copyright©2024 adhdthai.com
Powered by SMEweb