หน้าแรก  :  เกี่ยวกับเรา  :  สมัครสมาชิก  :  ติดต่อเรา  :  บริจาค และ สั่งซื้อหนังสือเรื่อง"For You....คุณแม่คนเก่ง
บทความที่ควรอ่าน: จะหายได้หรือไม่
จะหายได้หรือไม่
Views: 65803

จะหายได้หรือไม่

หากลูกมีสมาธิสั้นแล้วไม่ได้รับความช่วยเหลือที่ถูกทาง จะเกิดปัญหาลูกโซ่ เช่น ในระยะแรกเกิดปัญหาในการเรียน หากทิ้งไว้นานจะเกิดปัญหาทางอารมณ์และพฤติกรรม ตามมาเป็นระลอก ซึ่งจะเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เด็กเกิดปัญหาสุขภาพจิต แต่ถ้าหากเด็กมีปัญหาความรุนแรงอยู่บ้างตามธรรมชาติของเด็กสมาธิสั้น ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ปัญหาดังกล่าวจะทวีความรุนแรงขึ้น

ผลลัพธ์คือ เด็กจะมีอารมณ์ซึมเศร้าและอารมณ์แปรปรวน ประเดี๋ยวดีประเดี๋ยวร้าย มีภาพลักษณ์ของตนเองในเชิงลบ ต่อต้าน เกเร ก้าวร้าว รุนแรง โกหก ลักขโมย หนีออกจากบ้าน ผูกพันอยู่กับการใช้ยาเสพย์ติด และการทำผิดกฎหมาย

ในความเป็นจริงแล้ว การช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้น ไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไป บุคคลรอบตัวเด็กโดยเฉพาะพ่อแม่และครู จะต้องเข้าใจว่าเด็กมิได้แกล้งทำ แต่เป็นเพราะกลไกทางสมองที่ทำให้การตวบคุมตัวเองของเด็ก ไม่เหมือนเด็กอื่น

พ่อแม่และครู จะต้องไม่โกรธเด็กและจะต้องพยายามนำเรื่องของ ทาน ศีลและภาวนามาใช้ทุกวัน จึงจะไม่เครียดและจะเกิดความเมตตาต่อเด็ก สามารถช่วยเหลือเด็กได้ถูกทาง จนประสบความสำเร็จในทางการเรียนและพฤติกรรม....คุณหมอจะงดยาและเด็กจะสามารถอยู่ร่วมกับบุคคลรอบตัวได้อย่างเป็นสุข....และอยู่ร่วมกับผู้คนในสังคมได้เช่นเดียวกัน......นั่นคือ......ลูกหายจากการมีอาการสมาธิสั้นนั่นเอง

ทางการเแพทย์ระบุวิธีช่วยเหลือดังนี้

1. รับประทานยา ถ้าเด็กควบคุมตนเองไม่ได้ รบกวนผู้อื่นและไม่สามารถรับผิดชอบในกิจวัตรประจำวันและการเรียนได้ ถือว่าอาการเป็นค่อนข้างมาก.....จะต้องรับประทานยาช่วย ยามีความปลอดภัยสำหรับเด็กคามสมควร ยกเว้นในกรณีที่ภายในครอบครัวมีปัญหาทางด้าน "โรคหัวใจ" และ เมื่อเด็กรับประทานแล้วมีการหายใจผิดปกติ ต้องรีบกลับไปพบแพทย์ทันที แต่กรณีเช่นนี้มีน้อยมาก..ๆ...ๆ....

ผลข้างเคียงคือ การเบื่ออาหาร คลื่นไส้ รับประทานได้น้อยลง หากเมื่อรับประทานไปได้ระยะหนึ่งยังไม่หาย ควรพบแพทย์หรือหากเด็กมีอาการเลวลงกว่าเดิม ต้องรีบพบแพทย์ทันทีเช่นกัน แต่กรณีเช่นนี้มีน้อยเช่นกัน 

ในกรณีที่เด็กรับประทานยาแล้วได้ผลดี ทำให้รับผิดชอบการเรียนและการทำกิจวัตรประจำวัน ผลการเรียนดีขึ้น จะต้องรับประทานยาทุกวัน

จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นที่เก่งและชำนาญที่สุดในประเทศไทย บอกว่า อาการสมาธิสั้นเกิดขึ้นตลอดเวลา มิใช่เกิดขึ้นเฉพาะวันไปโรงเรียน ไม่เกิดขึ้นในวันเสาร์อาทิตย์หรือวันหยุดอื่นๆ เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่เด็กจะต้องรับประทานยาทุกวัน เพื่อจะได้ควบคุมตนเองได้�

ในขณะเดียวกัน พ่อแม่จะสามารถปรับพฤติกรรมตนเองได้และสามารถฝึกฝนให้ลูกรู้จักวิธีอยู่ร่วมกับบุคคลอื่น รับผิดชอบต่อตนเองได้ ในที่สุด ทั้งการเรียนและความประพฤติของเด็กจะเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ ก่อนเป็นวัยรุ่น แพทย์จะงดยา....นั่นคือ..........หายนั่นเอง

แต่ในการรับประทานยา มีอุปสรรคที่ยิ่งใหญ่มาขวางกั้น อุปสรรคเหล่านี้คือ

  • เมื่อคุณแม่พาลูกไปพบแพทย์และแพทย์ไม่สามารถให้ความมั่นใจในเรื่องยา รวมทั้งพูดน้อย ไม่พูดให้กำลังใจคุณแม่ เนื่องจากแพทย์มีน้อยแต่คนไข้มีจำนวน "มหาศาล" ต้องคอยคิวเป็นเวลาถึง 7-8 เดือน แพทย์จึงไม่มีเวลาและมักเหลือบมองนาฬิกาข้อมือ คุณแม่จึง "เกรงใจ" ไม่กล้าพูด "หมดกำลังใจและไม่มั่นใจในการให้ลูกรับประทานยา"
  • คุณแม่เป็นจำนวนมาก เมื่อกลับไปถึงบ้านพร้อมยา จึงเชื่อ "คำต่อต้าน ยา" ของสามี คุณปู่คุณย่าและคุณตาคุณยาย ซึ่งไม่ต้องการให้ลูกหลานรับประทานยา เพราะเกรงว่า "ยาจะกดประสาท" เนื่องจากคิดว่ายาจะมีพิษทำลายเด็กในรูปแบบต่างๆ จึงมักไม่ให้ลูกหลานรับประทานยา โดยที่แพทย์ไม่ทราบและคุณแม่จะไม่ยอมไปพบแพทย์ตามนัด เด็กจึงหมดโอกาสหาย เพราะคุณแม่ไม่สามารถปรับพฤคิกรรมตนเองและปรับพฤติกรรมลูกได้เพราะเด็กไม่ยอม เด็กจึงยังคงถูกทำร้ายจิตใจอยู่เสมอซึ่งมีผลให้อาการพัฒนามากขึ้น มีอาการทางจิตเวช ในที่สุดเด็กจะแย่และต้องรับประทานยาทางจิตเวชไปนานแสนนาน วิธีการช่วยเหลือจะยุ่งยากและสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
  • คุณครูก็เช่นกัน มักไม่เห็นด้วยและต่อต้านการรับประทานยาของลูกศิษย์ จึงมัก "โน้มน้าว" จนคุณแม่เชื่อและไม่ให้ลูกรับประทานยาในที่สุด
  • การที่แพทย์ให้ยาที่ออกฤทธิ์ในช่วงสั้น ทำให้เด็กต้องนำยาไปรับประทานหลังอาหารกลางวันอีกครั้งหนึ่งที่โรงเรียน เด็กไม่สามารถรับประทานได้ด้วยตนเองเพราะมักจะลืม คุณแม่จึงต้องขอร้องคุณครูประจำชั้น ให้ช่วยให้ยามื้อกลางวัน แต่คุณครูมักลืม เพราะมีภาระที่ต้องดูแลเด็กทั้งห้องซึ่งมีจำนวน 40-50 คนซึ่งน่าเห็นใจมาก เมื่อนึกขึ้นได้ จึงมักใช้เพื่อนร่วมห้องของเด็ก ให้ไปหยิบยา เท่าที่ทราบจากผู้ปกครองและตัวเด็กเอง ครูจำนวนตามสมควรที่อยู่ในอารมณ์เครียด มักเผลอใช้คำพูดว่า

"นี่เธอ.....ช่วยไปหยิบยาแก้บ้าในลิ้นชักครู มาให้เพื่อนเธอกินหน่อย........จะได้หายบ้าเสียที"

ครูอาจเผลอพูดความในใจ แต่ประโยคนี้ทำให้เพื่อนนำไปขยายต่อในกลุ่มเพื่อนฝูงร่วมห้องของเด็ก จนความขยายไปทั่ว และ ครูคนนั้นจะไปบ่นเล่าให้เพื่อนครูฟังถึงพฤติกรรมของเด็ก จนเป็นที่รู้กันในหมู่ครูและเด็กๆในโรงเรียนว่า เด็กคนนั้นมีสมาธิสั้นจนต้องรับประทานยาแก้นิสัยไม่ดี เด็กสมาธิสั้นจึงกลายเป็น เป้านิ่งที่ถูกยิงทุกวัน เพื่อนมักเรียกว่า "อ้ายแสบหรืออ้ายบ้า" จนรู้สึกแย่ ขาดความภาคภูมืใจในตนเอง

อาการที่ตามมาจะพัฒนาเป็น "ก้าวร้าว มีอาการซึมเศร้าและมีอารมณ์แปรปรวน" โดยที่พ่อแม่หรือครูไม่ทราบ เด็กคนนั้นจึงต้องรับประทานยาที่มีผลเสียยิ่งกว่ายาขนานแรก

เด็กสมาธิสั้นที่รับประทานยาขนานแรกที่โรงเรียน จึงมักเป็นที่ดูถูกดูแคลนของเด็กคนอื่นในโรงเรียน� บางครั้งมีเรื่องกันจนถึงขั้นชกต่อย แต่ในทุกกรณีเด็กสมาธิสั้นจะมี "ความทุกข์จากการรับประทานยาที่มีฤทธิ์ระยะสั้น" เพราะอายเพื่อน และ มักต่อต้านการรับประทานยา ทิ้งได้เป็นทิ้ง และ ลุยเพื่อนที่ล้อเยาะเย้ยเรื่องการรับประทานยา

คุณแม่ที่รู้ว่ามียาออกฤทธิ์นาน มักจะขอแพทย์ให้สั่งยาชนิดนี้ให้้ลูก จะรวยหรือจน จะยอมซื้อยาประเภทนี้ให้ลูกเพราะต้องการให้ลูกมีอาการดีขึ้นและตนเองจะไม่เครียด ครอบครัวจะมีโอกาสหายอลวนและอลเวง จึงยอมทุกอย่างที่จะให้ลูกได้รับประทานยาตัวนี้

แต่มีพ่อแม่จำนวนมากที่ไม่ทราบว่า มียาตัวนี้เพราะแพทย์มักไม่ยอมจ่ายให้ เนื่องจากกลัวการครหาว่า รู้เห็นเป็นใจกับบริษัทยา เด็กสมาธิสั้นไม่ว่าจะจนหรือรวยจำนวนมากจึงหมดโอกาส

จำนวนพ่อแม่เหล่านี้มีมาก โดยเฉพาะพ่อแม่ที่ยากจนและเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ความรุนแรงในสังคมจึงเกิดขึ้นเป็นประจำ เพราะเด็กที่ขาดโอกาสเหล่านี้ ดังจะเห็นได้จากข่าวประจำวันในหน้าหนังสือพิมพ์ คนที่ทำผิดกฏหมายมักเป็นคนจนและมักขาดการศึกษา ขาดโอกาสในเรื่องปัจจัย 4 มาตั้งแต่แรกเกิด ผลที่เกิดขึ้นนี้ ไม่เป็นทีประจักษ์และรับรู้ของหน่วยงานภาครัฐว่า ความต้องการของพ่อแม่และเด็กซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เป็นความสำคัญ "หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรตระหนัก" ควรที่จะต้องพิจารณาและ "จัดทำแผนงานช่วยเหลือ ให้เด็กเหล่านี้ได้รับโอกาสบ้าง ปัญหาความรุนแรงและอา-ชญกรรมตามข่าว มักเกิดจากเด็กสมาธิสั้นที่ยากจนเป็นส่วนใหญ่" เรื่องเด็กสมาธิสั้นควรเป็นปัญหาระดับชาติ มิใช่เป็นเรื่องเล่นๆ

เด็กสมาธิสั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่พ่อแม่มีฐานะยากจน เมื่อเติบโตขึ้น จะกลายเป็นเด็กซิ่ง เด็กแว้น เด็กเสพยาและประพฤติผิดกฎหมายทุกรูปแบบ สร้างความรุนแรงให้สังคมอย่างต่อเนื่อง สมควรที่จะได้รับยาที่ดีและฟรี "ใส่ปาก" ทุกวัน เพราะประหยัดกว่าและดีกว่าที่หน่วยงานจะเที่ยวไล่จับ ไล่ตรวจทุกวันให้เสียงบประมาณและกำลังคน แถมยังเสียค่าโฆษณาทางทีวีอีกว่า

 "เด็กดีในวันนี้ คือผู้ใหญ่ที่ดีในวันหน้า"

เด็กตามข้างต้นเหล่านี้จะหัวเราะจนงอหายเพราะ "ผมไม่มีโอกาสเป็นเด็กดีครับ"

เป็นเรื่องน่าตกใจเป็นอย่างยิ่ง ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ของเด็กในสถานพินิจแห่งหนึ่ง เป็นเด็กสมาธิสั้นและต้องเข้ารับการบำบัดเพื่อรักษาการติดยาเสพติด การประพฤติผิดกฏหมายและการที่มีอารมณ์ซึมเศร้าและอารมณ์แปรปรวน

  • เด็กที่รับประทานยาออกฤทธิ์ช่วงสั้น หมดโอกาสได้รับยาตามข้างต้น จึงกลายเป็น "เด็กอมทุกข์และขาดความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง" ซึ่งเป็นมูลเหตุหนึ่งที่ทำให้ อาการเด็กพัฒนาไปสู่ความก้าวร้าวรุนแรง และ มีอาการซึมเศร้าและอารมณ์แปรปรวน เมื่อเติบโตขึ้นจะกลายเป็นเด็กแว้น เด็กซิ่งและเด็กเสพยาในที่สุด เด็ก ครอบครัวและสังคม ได้รับผลกระทบที่รุนแรงเช่นนี้

เด็กจึงต่อต้านการรับประทานยาที่โรงเรียน

น่าสงสารที่สุด เมื่อเด็กเหล่านี้มักพูดกับคนที่เขาคิดว่าจะช่วยเขาได้ว่า

"ผมต้องการกินยาที่ทำให้ผมดีขึ้นและหาย โดยที่เพื่อนและครูไม่รู้ครับ"

2. พ่อแม่ต้องปรับพฤติกรรมตนเอง นั่นคือ ต้องให้ความรัก ความเข้าใจและความอบอุ่น รวมทั้งปรับเปลี่ยนทัศนะคติของตนเองที่มีต่อลูก ช่วยเหลือประคับประคองลูก ให้เกิดความรักและความภาคภูมิใจในตนเองให้ได้ นี่คือสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็ก

3.  ปรับพฤติกรรมเด็ก ให้มีความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัยและมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น โดยไม่ต้องตี ดุ ด่า ว่ากล่าวหรือพูดจาเปรียบเทียบ ประชดประชัน จนลูกเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ ไม่มีความภาคภูมิใจในตนเองและกลายเป็นเด็กก้าวร้าว หรือ เกิดอาการซึมเศร้าและอารมณ์แปรปรวน ต้องใช้ยาอีกประเภทตลอดไป นี่คือ ยาพิษของเด็ก

เมื่อพ่อแม่ทำตามข้อ 1 และโชคดีลูกไม่มีอุปสรรคตามข้างต้น ปฏิบัติตามข้อ 2 และ ข้อ 3 อย่างสม่ำเสมอ เด็กจะมีอาการดีขึ้นและเมื่อเป็นวัยรุ้นอาการต่าง ๆ จะหายไปได้ในที่สุด

เด็กที่หายมีจำนวน 30 เปอร์เซ็นต์ ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดรอบตัวเด็ก น่าจะทำให้จำนวนเด็กที่หายมีเพิ่มขึ้นถึง 50 เปอร์เซ็นต์ได้ไม่ยาก

แต่จากประสบการณ์ของพ่อแม่ที่ประสบความสำเร็จในการช่วยเหลือลูก กลับพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ข้อ 2 และ ข้อ 3 ข้างต้นทำได้ยากเพราะตนเองก็เครียด.....ลูกก็เครียด..... ฝึกกันไป......ทำกันไปทั้งๆ ที่เครียด ทำได้เต็มที่....ประมาณสองสัปดาห์ หลังจากนั้นก็......สติแตกเหมือนเช่นเดิมทุกครั้ง

พวกเราคือผู้มีประสบการณ์ตรง จึงเห็นว่า ต้องปฎิบัติเพิ่มเติมจากที่ทางการแพทย์ระบุดังต่อไปนี้อย่างไม่มีทางเลือก ทุกคนจึงจะประสบความสำเร็จได้

1. ปรับเปลี่ยน "จิตใต้สำนึก"ให้รู้ว่าต้องแก้ไขตนเองเสมอ ไม่แก้ไขคนอื่นหรือเห็นว่าคนอื่นไม่ดี แต่ตนเองเป็นคนดี ทุกคนเป็นไปตามธรรมชาติทั้งสิ้น ทุกคนเป็นมนุษย์ที่ดีทั้งสิ้น โดยเฉพาะลูก

2. ปลูกฝังจิตใต้สำนึกตนเองให้หันเข้าหาวัด นำธรรมะของพระพุทธเจ้า(หรือของพระศาสดา) มาใช้ แค่ธรรมะขั้นพื้นฐานเท่านั้นเอง นั่นคือการ ทำบุญ ซึ่งประกอบด้วย

- การทำทานทุกวันทำให้เกิดเมตตา

- การนำศีล 5 มาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ให้ผิดศีลน้อยที่สุด เมื่อผิดก็แก้ไข� จนสามารถปฏิบัติได้โดยอัตโนมัติ� จะมีผลทำให้ไม่ทำสิ่งที่ไม่ดีที่สร้่างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น โดยเฉพาะลูก

- การสวดมนต์และนั่งสมาธิอย่างน้อยวันละ 5 นาที เป็นประจำทุกวัน จะช่วยทำให้เกิดสติปัญญา รู้ดีรู้ชั่วและมุ่งมั่นที่จะทำความดี

- แผ่เมตตาให้ตนเอง ลูกและบุคคลอันเป็นที่รัก โดยระบุชื่อและนามสกุลให้ชัดเจน และ สัตว์โลก ฯลฯ

- อุทิศส่วนกุศลให้พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย บุคคลอันเป็นที่รัก เจ้ากรรมนายเวรและสัตว์โลกทั้งหลายที่ประสบความยากลำบาก ฯลฯ

- เมื่อทำครบแล้วให้พูดกับลูกว่า "แม่นำบุญมาฝากและให้ลูกพนมมือและพูดว่า "อนุโมทนาบุญครับแม่"

การแผ่เมตตาและอุทิศส่วนกุศลเป็นเรื่องจริงที่พิสูจน์ได้ด้วยตัวคุณเอง

3. ปลูกฝังสิ่งที่ดีงามลงไปใน "จิตใต้สำนึกของลูก" (อ่าน "การเพิ่มศักยภาพเด็กด้วยการปลูกฝังจิตใต้สำนึก")

4. พาลูกทำ "กิจกรรมบำบัด" เพื่อกระตุ้นการทำงานของสมองทางด้านการรับรู้หรือเอสไอ (อ่าน "การทำกิจกรรมบำบัดหรือเอสไอ" ) หรือให้ลูก "เล่นแบบไทย"ทุกวัน (อ่าน "การเล่นแบบไทยกระคุ้นสมองเด็ก" ) เพื่อกระตุ้นการทำงานของสมอง

5. ให้ลูกรับประทานอาหารที่บำรุงสมองเป็นประจำ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารขยะ

6. ชวนลูกอยู่ในธรรมชาติที่มีต้นไม้ สอนลูกให้หายใจเข้ายาวๆ และ ปล่อยออกยาวๆ จะทำให้ได้รับอากาศบริสุทธิ์ มีผลทำให้เลือดดี เมื่อไหลเวียนไปตามอวัยวะต่างๆ และ สมอง การทำงานของอวัยวะและสมองจะพัฒนามากขึ้น

เมื่อปฏิบัติเช่นนี้ทุกวัน ทั้งพ่อแม่จะไม่เครียดเพราะรู้ตัวว่ากำลังทำบุญอันยิ่งใหญ่ โดยการช่วยเหลือลูกนั่นเอง

ความรักความเมตตาต่อลูกและเพื่อนมนุษย์และสัตว์โลก จะเกิดขึ้น ลูกจะมีความสุขและเกิดความพยายามเพราะคุณพ่อคุณแม่เลิกตี เลิกดุ เลิกว่า เลิกบ่น เลิกจุกจิก จู้จี้ เลิกสอนซ้ำซาก เลิกเปรียบเทียบลูกกับผู้อื่น

ลูกจะเกิดความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง ภูมิใจในตนเองและเกิดความพยายามในทุกเรื่อง เพื่อให้คุณพ่อและคุณแม่มีความสุขเพราะรักพ่อแม่ มิใช่ทั้งรักทั้งเกลียดพ่อแม่อีกต่อไปอีกต่อไป

ลูกจึงมีอาการดีขึ้น แพทย์จะหยุดยา....และ.......หายในที่สุด

ถ้าไม่เชื่อก็ลองพิสูจน์ด้วยตนเอง� จงจำไว้เสมอว่า "ธรรมะรักษาทุกโรคและรักษาผู้ประพฤติธรรม"

 

การศึกษาวิจัยทางการแพทย์ พบว่า

1. อาการหายไป ร้อยละ 30 ของเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นสมาธิสั้น จะมีอาการดีขึ้นจนไม่มีปัญหาอะไร เมื่อเติบโตสมองพัฒนาดีขึ้น อาการไม่อยู่นิ่งและไม่มีสมาธิจะหายไป

2. อาการดีขึ้น เด็กสมาธิสั้น จำนวนร้อยละ 40 จะยังคงมีอาการอยู่บ้าง แต่จะไม่ก่อให้เกิดปัญหามากเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วอาการอยู่ไม่นิ่งจะลดลง แต่อาการสมาธิไม่ดีจะยังคงอยู่ แต่เนื่องจากเมื่อเด็กโตขึ้นแล้ว จะมีการควบคุมตนเองได้ดีขึ้น มีกลยุทธ์ที่จะช่วยให้ตนเองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้การเรียนในมหาวิทยาลัย ไม่ได้มีวิชามากมายครอบจักรวาลไปหมดเหมือนเช่นการเรียนสมัยเป็นเด็ก สามารถเลือกเรียนวิชาเฉพาะที่ชอบได้ แม้จะมีอาการสมาธิบกพร่องอยู่บ้าง แต่ก็จะไม่ทำให้เกิดปัญหารุนแรง บางคนอาจยังคงต้องรับประทานยาควบคุมอารมณ์ตนเอง

3. อาการแย่ลง ร้อยละ 30 ของเด็กที่วินิจฉัยว่ามีสมาธิสั้น จะมีอาการแย่ลงเมื่อโตเป็นวัยรุ่น/ผู้ใหญ่ นั่นคือ อาการของสมาธิสั้นทางด้านความรับผิดชอบต่อตนเองและการทำงานให้เสร็จในเวลาที่เหมาะสม ยังคงเป็นอยู่และยังคงขาดความยับยั้งชั่งใจ หงุดหงิด โกรธรุนแรง แถมยังมีปัญหาทางสุขภาพจิตรุนแรงตามมา มีอารมณ์เศร้า วิตกกังวลและอารมณ์แปรปรวน นอกจากนี้ยังมีปัญหาพฤติกรรมผิดกฎหมายทุกรูปแบบ เช่น ติดสารเสพคิด ลักขะโมย ทำร้ายผู้อื่นจนบาดเจ็บหรือล้มตายและมีบุคลิกภาพแบบอันธพาล ฯลฯ

กลุ่มนี้มักมีอาการอยู่ไม่นิ่งและขาดความยับยั้งชั่งใจอย่างรุนแรงในตอนเด็ก อาการดังกล่าว ทำให้เกิดปัญหาทางอารมณ์และปัญหาพฤติกรรม จนเกิดอาการซึมเศร้าและอารมณ์แปรปรวน ประเดี๋ยวดีประเดี๋ยวร้ายและความสัมพันธ์กับผู้อื่นไม่ดี ทั้งหมดนี้แก้ได้ค่อนข้างยากและจะส่งผลในระยะยาว หากเด็กรายใดมีปัญหาพฤติกรรมเกเร เช่น หนีโรงเรียน ขโมยของ โกหกบ่อยๆ ร่วมด้วย สามารถคาดการณ์ได้ว่า เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ปัญหาจะยิ่งรุนแรงขึ้น

การที่จะเขียนบรรยายว่า การปรับพฤติกรรมเป็นอย่างไร มิใช่เรื่องง่าย เราจึงจำเป็นที่จะต้องให้คุณติดตามในวิธีการและได้เห็นตัวอย่างชัดเจน หากคุณต้องการทราบว่า การปรับพฤติกรรมตนเองและการปรับพฤติกรรมลูกเป็นอย่างไร ควรติดต่อชมรมฯ ที่โทร. 02-9328439 เพื่อนัดพบปรึกษาหารือเรื่องการช่วยเหลือลูกของคุณ และ สมัครเป็นสมาชิกเพื่อจะได้เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อฝึกการปรับพฤติกรรมตนเองและพฤติกรรมของลูก ให้ถูกต้องตามวิธีการข้างต้น

 



 
หน้าแรก  เกี่ยวกับเรา  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา  บริจาค และ สั่งซื้อหนังสือเรื่อง"For You....คุณแม่คนเก่ง
Copyright©2024 adhdthai.com
Powered by SMEweb